สัญญาต่าง ๆ กว่า 400 แบบ | เช่น สัญญาเงินกู้, สัญญาซื้อขายที่ดิน, สัญญาเช่า, สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง...etc.



คำเตือน!! ควรใช้เป็นแนวทางเท่านั้น!!

 "สัญญา" คืออะไร....
๑. ความหมายของสัญญา

     ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติกำหนดนิยามของสัญญาว่าหมายถึงอะไร แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้พิจารณาจากตำราทั่วไป และความหมายของนิติกรรมแล้วพอสรุปได้ว่า สัญญา หมายถึง นิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายที่เกิดจากการแสดงเจตนาเสนอ สนองต้องตรงกันของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปที่มุ่งจะก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงหรือระงับนิติสัมพันธ์1


 ๒. ความสัมพันธ์แห่งนิติกรรมและสัญญา
     นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ในนิติกรรมนั้นสามารถแบ่งเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมหลายฝ่าย สัญญาก็ถือเป็นนิติกรรมเช่นเดียวกัน แต่เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย
ในการศึกษากฎหมายต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์และหลักกฎหมายนิติกรรมประกอบ นอกจากกรณีที่กฎหมายได้บัญญัติเรื่องสัญญาไว้เฉพาะ สัญญาจะเป็นนิติกรรมเสมอ แต่นิติกรรมบางประเภทอาจไม่ใช่สัญญาก็ได้

๓. หลักที่ควรคำนึงในการก่อให้เกิดสัญญา
     ๑. หลักเสรีภาพในการทำสัญญา อันเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญในการทำสัญญาที่ใช้กันมานานและเป็นที่เข้าใจมาตลอดว่าผู้ที่เข้าทำสัญญาจะตกลงทำสัญญาอย่างไร กับใครเพียงใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบของมาตรา ๑๕๑ ด้วย
     ๒. หลักสุจริต
เป็นหลักการพื้นฐานที่กฎหมายได้บัญญัติในมาตรา ๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การใช้สิทธิและการชำระหนี้ต้องกระทำโดยสุจริต
     ๓. หลักความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นหลักการพื้นฐานของการแสดงเจตนา ทำสัญญาที่ผู้แสดงเจตนาจะต้องคำนึงถึงด้วยเพราะหลักนี้กฎหมายให้ความคุ้มครอง
     ๔. หลักความยุติธรรม
เป็นหลักที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องคำนึง เพราะว่าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่คำนึงแล้ว โดยเฉพาะคู่สัญญาฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางเศรษฐกิจหรืออำนาจทางสังคม อาจกำหนดด้วยสัญญาที่ให้ตนได้เปรียบแล้วก็ย่อมทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายเสียเปรียบ กรณีเช่นนั้นนอกจากที่จะต้องมีเสรีภาพในการทำสัญญา เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเข้าทำสัญญาโดยฝืนใจหรือจำยอมแล้วนั้น หมายความว่า เสรีภาพของเขาก็ไม่มีเพราะฉะนั้นในการทำสัญญาทุกครั้ง คู่สัญญาต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรมด้วย
     ๕. หลักความรับผิดก่อนสัญญา เป็นหลักที่คู่สัญญาควรคำนึงถึงในช่วงของการก่อให้เกิดสัญญา คู่สัญญาควรระลึกในขั้นนี้ว่าหากจงใจหรือประมาททำให้คู่กรณีได้รับความเสียหายแล้ว ก็ต้องมีความรับผิดในการเยียวยาความเสียหายต่อประโยชน์ที่อีกฝ่ายไม่ควรเสียเวลา เสียโอกาสหรือเสียค่าใช้จ่ายเข้ามาทำสัญญาที่ผลสุดท้ายแล้ว สัญญาไม่เกิดหรือเกิดแต่ไม่สมบูรณ์

๔. องค์ประกอบของสัญญา
     ในเรื่องสัญญามีองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเป็นสัญญาได้ ในเรื่ององค์ประกอบนั้นสามารถแยกองค์ประกอบได้เป็น ๒ ส่วน คือ องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา ซึ่งประกอบด้วยบุคคล วัตถุประสงค์ เจตนา และแบบ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกันกับองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของนิติกรรม องค์ประกอบส่วนที่สอง คือ องค์ประกอบเสริมของสัญญา ซึ่งได้แก่ เงื่อนไข เงื่อนเวลา มัดจำ เบี้ยปรับ ซึ่งขออธิบายในแต่ละส่วนดังนี้

๑. องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา คือ
     ๑.๑ บุคคล หรือเรียกว่า คู่สัญญา ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาและสร้างนิติสัมพันธ์ให้ผลของสัญญาที่เกิดขึ้นนั้นตกแก่ตน ซึ่งโดยหลักแล้วบุคคลใดเป็นผู้ทำสัญญา บุคคลนั้นก็จะเป็นเจ้าของความสัมพันธ์ทางสัญญาแต่ในบางกรณี ผู้ลงมือทำสัญญาอาจมิใช่ผู้ที่รับผลสัญญากันได้ เช่น ในกรณีตัวแทนที่กระทำแทนตัวการ กรณีเช่นนี้ตัวแทนเป็นผู้ลงมือทำสัญญาแต่ทำในนามตัวการและเพื่อประโยชน์ของตัวการ
     ๑.๒ วัตถุประสงค์ คือ เป้าหมายหรือประโยชน์สุดท้ายที่จะได้จากสัญญา วัตถุประสงค์ของสัญญาจะต้องเป็นเป้าหมายที่คู่สัญญามีร่วมกัน ไม่ใช่เป้าหมายของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ในการทำสัญญาทุกครั้งและสัญญาทุกชนิดจะต้องมีวัตถุประสงค์เสมอ ตัวอย่างวัตถุประสงค์ เช่น สัญญาซื้อขาย วัตถุประสงค์ก็คือ กรรมสิทธิ์กับราคา เป็นต้น
     ๑.๓ เจตนา เจตนาในการทำสัญญาต้องเป็นเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา และวิธีการในการแสดงเจตนาก็ต้องเป็นเช่นเดียวกับเจตนาในการทำนิติกรรม มิใช่เป็นเจตนาที่วิปริต เช่น เพราะความสำคัญผิด เพราะถูกฉ้อฉล หรือเพราะการข่มขู่ เป็นต้น การแสดงเจตนาอาจแสดงด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ และเจตนาที่แสดงออกมาต้องเป็นนั้นสัญญาก็จะเป็นโมฆะ๒. องค์ประกอบเสริมของสัญญา
องค์ประกอบเสริมของสัญญาเป็นองค์ประกอบที่คู่สัญญาได้กำหนดเพิ่มเติมในการทำสัญญาซึ่ง ถ้าสัญญาขาดองค์ประกอบเสริมดังกล่าวก็จะไม่ทำให้สัญญานั้นเสีย เพราะเป็นองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นสำหรับความมีอยู่ของสัญญา องค์ประกอบเสริมของสัญญาที่คู่สัญญาสามารถกำหนดได้ เช่น เงื่อนไข เงื่อนเวลา ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับเงื่อนไข เงื่อนเวลา ในเรื่องนิติกรรม นอกจากนี้ยังมี มัดจำ เบี้ยปรับ ที่สามารถกำหนดเข้ามาเป็นองค์ประกอบเสริมได้ ซึ่งจะกล่าวอธิบายรายละเอียดในตอนท้ายของบทนี้


      ประเภทของสัญญา
การแบ่งประเภทของสัญญาจัดแบ่งประเภทเป็น ๒ เรื่องใหญ่ ๆ คือ การจัดแบ่งประเภทสัญญาตามแบบดั้งเดิม และการจัดแบ่งประเภทสัญญาใหม่ในปัจจุบัน
      ๑. การจัดแบ่งประเภทของสัญญาตามแบบดั้งเดิม
การจัดแบ่งประเภทของสัญญาตามแบบดั้งเดิมสามารถแยกออกเป็น ๔ กรณี คือ
      ก. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน (Signallagmatic or bilateral and unitateral contract)
สัญญาต่างตอบแทนเป็นสัญญาที่คู่สัญญาเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ในขณะเดียวกัน
สัญญาไม่ต่างตอบแทนเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้เท่านั้น
     ข. สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน (onerous and gratuitous contracts)
สัญญามีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องเสียค่าตอบแทนเพื่อแลกกับประโยชน์ที่จะได้รับในลักษณะเดียวกัน เช่น ราคาแลกกับสินค้าในสัญญาซื้อขาย1
สัญญาไม่มีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวที่ได้รับประโยชน์ในทรัพย์นั้นโดยที่ไม่ต้องเสียอะไรเลย เช่น สัญญายืม สัญญาให้โดยเสน่หา เป็นต้น
     ค. สัญญาที่กำหนดการชำระหนี้แน่นอนกับสัญญาที่กำหนดการชำระหนี้ยังไม่แน่นอน (commutative and aleatory contract)
สัญญาที่กำหนดการชำระหนี้แน่นอน ตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายในราคาที่กำหนดไว้
สัญญาที่กำหนดการชำระหนี้ไม่แน่นอน เช่น สัญญาประกันภัย
     ง. แบ่งตามชื่อของสินค้า คือ สัญญาที่มีชื่อกับสัญญาที่ไม่มีชื่อ (nominate and innominate contract)


สัญญามีชื่อ หรือเอกเทศสัญญา คือ สัญญาที่กฎหมายได้กำหนดกฎเกณฑ์ในสัญญาไว้โดยเฉพาะแล้ว คือ สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาฝากทรัพย์ เป็นต้น


สัญญาที่ไม่มีชื่อ คือ สัญญาที่กฎหมายไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ในสัญญาไว้โดยเฉพาะ เป็นสัญญาที่คู่สัญญาทำขึ้นเองตามหลักอิสระ หรือเสรีภาพในการทำสัญญา ซึ่งสัญญาประเภทนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และกรอบทั่วไปของสัญญา
คำพิพากษาของฎีกาที่ ๓๔๒๑ / ๒๕๔๕
โจทก์เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ บ. หลังจากที่ บ. ตาย โจทก์ก็ได้ครอบครองที่พิพาทมาตลอดอย่างเป็นเจ้าของ แต่ไม่สามารถถือสิทธิทางทะเบียนให้ถูกต้องได้ จึงได้ดำเนินการให้จำเลยซึ่งเป็นพี่สาวเข้ามาเป็นผู้รับมรดก แล้วโอนให้โจทก์ภายหลัง การที่จำเลยทำสัญญาจะให้ที่ดินโจทก์ก่อนไปจดทะเบียนโอนมรดกนั้นศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่ใช่สัญญาจะให้ที่ดิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่งที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๒๖ จำเลยต้องโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา


๒. การจัดแบ่งประเภทสัญญาใหม่ในปัจจุบัน
การจัดแบ่งประเภทสัญญาใหม่ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ


     ก. สัญญาตามกฎหมายเอกชน และสัญญาทางกฎหมายมหาชน (private Law contract and Public Law contract)
สัญญาตามกฎหมายเอกชน คือ สัญญาที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเป็นเอกชนที่เข้ามาทำสัญญาผูกพัน
สัญญาตามกฎหมายมหาชน คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐหรือองค์กรของรัฐเข้ามาเป็นคู่สัญญาในฐานะที่เหนือกว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นเอกชน
     ข. สัญญาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันกับสัญญาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพกับผู้ไม่ประกอบวิชาชีพหรือผู้บริโภค ซึ่งพิจารณาจากสถานะของความไม่เท่าเทียมกันของคู่สัญญา เพื่อคุ้มครองผู้ไม่ประกอบวิชาชีพหรือผู้บริโภค
     ค. สัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จในการชำระหนี้กับสัญญาที่มุ่งถึงการใช้ความระมัดระวังในการชำระหนี้
     ง. สัญญาสำเร็จรูปหรือสัญญามาตรฐาน (Standard From Contract) กับสัญญาลูกผสม(Collective Contracts)
 

      สัญญาสำเร็จรูป หรือสัญญาที่เกิดจากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าถึงข้อสัญญาต่างๆ แต่เพียงฝ่ายเดียว เช่น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ลูกค้าทำกับธนาคาร
สัญญาลูกผสมเป็นสัญญาที่เกิดจากความตกลงของกลุ่มบุคคล เช่น สัญญาจ้างแรงงาน

๓. ความสมบูรณ์ของสัญญา
สัญญาจะมีความสมบูรณ์เป็นสัญญาหรือไม่นั้นต้องเข้าใจก่อนว่าสัญญา คือ นิติกรรมอย่างหนึ่ง ในการทำสัญญาก็จะต้องมีองค์ประกอบที่เป็นเช่นเดียวกับในเรื่องการทำนิติกรรม คือ ต้องมีบุคคลหรือคู่สัญญาในการทำสัญญา มีวัตถุสมบูรณ์หรือไม่นั้น (ความสมบูรณ์ในสายตากฎหมาย ) จึงต้องพิจารณาองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา ๓ ประการ
 ๑. องค์ประกอบในเรื่องความสามารถของคู่สัญญาดูว่า คู่สัญญานั้นมีความสามารถเพียงใด ฝ่ายหนึ่งมีความบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือไม่ ถ้ามีสัญญานั้นก็จะตกเป็นโมฆียะ แต่ถ้าคู่สัญญาไม่บกพร่องหรือมีความสามารถก็ต้องพิจารณาขั้นต่อไป
 ๒.องค์ประกอบในเรื่องวัตถุประสงค์ของสัญญา ในการทำสัญญาให้ดูว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์คืออะไร ถ้าวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย วัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย หรือวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นก็จะตกเป็นโมฆะ แต่ถ้าวัตถุประสงค์ของสัญญาไม่ขัดกับหลักกฎหมายดังกล่าวแล้ว ก็ให้พิจารณาดูต่อไป
 ๓. องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาในเรื่องแบบหรือวิธีการในการทำนิติกรรม โดยทั่วไปสัญญาที่ทำไม่จำเป็นต้องมีแบบก็ได้ แต่สัญญาบางสัญญากฎหมายกำหนดวิธีการหรือแบบในการปฏิบัติไว้เฉพาะ เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาที่กฎหมายกำหนดต้องทำตามแบบ ในการทำสัญญาต้องทำตามแบบด้วย เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามก็จะมีผลให้สัญญาตกเป็นโมฆะตามหลักกฎหมายมาตรา ๑๕๒ หากคู่สัญญาได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หรือในบางสัญญากฎหมายมิได้กำหนดแบบคู่สัญญาก็สามารถกำหนดวิธีการในการทำสัญญาเองได้ ผลของสัญญาก็จะสมบูรณ์
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทั้งสามกรณีที่กล่าวมาแล้ว ถ้าสัญญานั้นสมบูรณ์ก็จะต้องพิจารณาในส่วนองค์ประกอบที่เกี่ยวกับเจตนาสองประการคือ ประการที่ ๑ การทำคำเสนอมีความบกพร่องในกระบวนการก่อเจตนาหรือไม่ เช่น การทำสัญญานั้นมีกลฉ้อฉล การข่มขู่ ความสำคัญผิดมาเป็นปัจจัยในการแสดงเจตนาหรือไม่ ถ้ามีเหตุวิปริตในการแสดงเจตนาดังกล่าวมาเป็นปัจจัยในการแสดงเจตนาแล้ว สัญญานั้นก็จะตกเป็นโมฆียะ หรือประการที่ ๒ กระบวนการแสดงเจตนา ไม่ว่าจะเป็นคู่สัญญาฝ่ายที่ทำคำเสนอได้ทำคำเสนอไปตรงกับเจตนาภายในหรือไม่ หากไม่ตรงเพราะเป็นเจตนาซ่อนเร้น เป็นเจตนาลวง เป็นนิติกรรมอำพราง หรือเป็นความสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญา สัญญานั้นก็จะตกเป็นโมฆะ ถ้าไม่มีกรณีทั้งสองดังกล่าวก็พิจารณาในส่วนของคำสนองว่าผู้ทำคำสนองได้ก่อเจตนาขึ้นมีเหตุวิปริตหรือไม่ ถ้ามีสัญญาก็จะตกเป็นโมฆียะ หรือโมฆะแล้วแต่กรณี ถ้าไม่มีสัญญาก็สมบูรณ์
ความไม่สมบูรณ์ของสัญญา คือ สัญญาที่ตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะซึ่งเหตุที่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและโมฆียะ ก็เป็นเหตุเดียวกันกับเรื่องนิติกรรม คือ
สาเหตุที่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ คือ เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๐ มาตรา ๑๕๒ มาตรา๑๕๔ มาตรา๑๕๕ มาตรา๑๕๖ เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ คือ เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๓ มาตรา๑๕๗ มาตรา๑๕๙ มาตรา๑๖๔ เป็นต้น  



บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย น.ส. ศิณาภรณ์ หู้เต็ม
https://www.gotoknow.org/posts/60420
=======================================================================

Mirror I: Download 1 Part - Size 2.2 MB
(Click - Download Here!! 1 Part - Size 2.2 MB)

Mirror II:Download 1 Part - Size 2.2 MB
(Click - Download Here!! 1 Part - Size 2.2 MB)


======================================================================

http://www.buu-programs.blogspot.com/p/vip-zone.html

======================================================================

ท่านรู้ไหม แค่ท่านดีใจ ผมโครตมีความสุขอ่ะ

=======================================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

- ท่านใดที่เคยแสดงความเห็นก่อนหน้านี้และพวกผมไม่ได้ตอบให้ขออภัยด้วยนะครับ..มันมองไม่เห็นจริงๆ
- ท่านสามารถไปโพสบอกย้อนหลังได้ที่หน้า Page: Facebook นะครับ เราจะแก้ไขให้ทันที
- หากท่านพบเห็นลิ้งเสีย หรือ เราแปะลิ้งผิด ให้ท่านแจ้งที่หน้า Page : Facebook ได้ทันที เราจะเร่งแก้ไขให้ไวที่สุดครับ
• Facebook : https://www.facebook.com/buuprograms